วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

แผนยุทธศาสตร์ปรับปรุง การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ



สรุปผลการจัดงาน
มหกรรมวิชาการภาษาอังกฤษ






                   งานมหกรรมวิชาการภาษาอังกฤษ ระหว่างวันที่ ๑๗-๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๘                   ณ ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี นั้น สรุปได้ว่า ระหว่าง                   การดำเนินงาน ๒ วัน ได้มีการ จัดการประชุมปฏิบัติการ ๓๔ ข้อ โดยได้รับความร่วมมือจากองค์กรหลักทั้งห้า พร้อมหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ๑๒  แห่ง มีการแสดงนิทรรศการ               จาก ๑๒๘ หน่วยงาน มีการนำเสนอการแสดงจากโรงเรียนทั้งภาครัฐและเอกชน ๕๕ แห่ง และ     การประกวดแข่งขัน ๗ รายการ ประมาณการว่ามีผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ต่ำกว่า ๒๐,๐๐๐ คน
การจัดงานดังกล่าวประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ
            - การจุดประกายความสนใจในเรื่องการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และการยืนยันในการแสดงความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะสนับสนุนในเรื่องนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้เดินทางมารับฟังข้อเสนอของเยาวชน และท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ให้เวลาเยี่ยมชมนิทรรศการ ตลอดจนการเข้าร่วมรับฟังการประชุมปฏิบัติการอย่างทั่วถึงและองค์กรหลักได้ร่วมกันจัดอย่างจริงจัง
          นอกจากนี้ การเดินทางมาร่วมงานของครูเป็นจำนวนมากจากทุกพื้นที่ รวมทั้งพื้นที่ที่น้ำท่วมหนัก รวมทั้งการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสนใจอย่างจริงจัง สะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวของครูที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาต่อไป
-  การนำเสนอแนวทางจัดการเรียนการสอนแบบ Communicative Approach และผลงานของโรงเรียน ชมรมครู ศูนย์ ERIC ครู และนักเรียนที่เป็น Best practices              สามารถขยายผลหรือพัฒนาให้ไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ประเด็นที่โดดเด่น และได้รับการกล่าวขวัญพอสมควร คือ ความพยายามและผลสำเร็จที่ดีเด่นเหล่านี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะโรงเรียนที่เน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเท่านั้น แต่ได้เกิดขึ้นในโรงเรียนธรรมดาที่มีขนาดกลาง ขนาดเล็ก และกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย
            การนำเสนอให้เห็นถึงศักยภาพของนักเรียนกลุ่มต่างๆ และผลที่เกิด            จากการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ เกิดจากการจัดเวทีให้ได้แสดงความสามารถ และ            การประกวดแข่งขันต่างๆ
          -  การเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครู  ระหว่างการศึกษาระดับต่างๆ ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ระหว่างภาครัฐ เอกชน และระหว่างสังกัดต่างๆ
            -  การประเมินสถานภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ได้เห็นว่าประเด็นใดที่มีการดำเนินการจนมีแบบอย่างที่ขยายผลได้ ประเด็นใดที่ยังเป็นจุดอ่อนต้องได้รับ            การดูแลเป็นพิเศษ
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างมีความพึงพอใจในการจัดงานมหกรรม และเสนอแนะ          ให้จัดเป็นประจำทุกปี โดยอาจจัดร่วมกับงานประจำปีของสมาคมครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ทั้งยังเสนอให้ขยายระยะเวลาให้นานขึ้น เพื่อให้ครูได้รับประโยชน์จากการประชุมปฏิบัติการ และให้จัด             ในส่วนภูมิภาค ซึ่งสอดคล้องกับดำริของท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการที่ว่า ควรมีการ  จัดงานมหกรรมวิชาการสัญจรของกระทรวงศึกษาธิการ
เนื่องจากในขณะนี้กระทรวงศึกษาธิการกำลังเสนอแผนยุทธศาสตร์ยกระดับ                การใช้ภาษาอังกฤษของประชากรไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ             ต่อ ค.ร.ม. ดังนั้น เพื่อให้เชื่อมโยงไปสู่การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ และผลที่เกิดขึ้นนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ของครูอย่างจริงจัง จึงมีข้อเสนอแนะในการดำเนินการต่อเนื่องดังนี้
การผลักดันการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ การเตรียมการและการปรับแผน                      ของแต่ละองค์กรหลัก เพื่อให้สามารถดำเนินการตามยุทธศาสตร์ได้ในปี ๒๕๔๙
๒.  การเผยแพร่ตัวอย่างจากงานมหกรรมให้กว้างขวาง ซึ่งจะได้จัดทำ           สารคดีเผยแพร่ทางโทรทัศน์ภายในสัปดาห์นี้ และจัดทำ DVD เผยแพร่ไปยังสถานศึกษาต่างๆ
๓.  การพัฒนาต่อยอดโรงเรียน และครู ที่มีผลงานดีเด่นและเป็นแบบอย่าง           ให้สามารถเป็นแกนในการขยายผล อย่างน้อยอำเภอละ ๑ โรง ในปีการศึกษา ๒๕๔๙ โดยอาจศึกษารูปแบบที่ได้ผล เช่น รูปแบบการสอนสำหรับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ หรือ            รูปแบบ Mini - English ที่นักเรียนมีโอกาสเรียนภาษาเข้มข้นมากขึ้น อาจอาศัยโรงเรียนในฝัน                        ที่ได้รับการลงทุนอยู่แล้วเป็นแกน ตลอดจนการพัฒนาศึกษานิเทศก์ หรือสถาบันที่จะเป็นพี่เลี้ยง              ที่จะประกบครู ดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและการปรับเปลี่ยน         กระบวนทัศน์
๔. การนำข้อมูลที่ได้รับจากการจัดมหกรรมไปปรับปรุงหลักสูตร                 สื่อ การอบรม และการพัฒนาครูต่อไป ยกตัวอย่างเช่น
- เนื้อหาทางวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิ ควรได้รับการศึกษาและนำไปปรับปรุงหลักสูตรและสื่อ เช่น ระดับ Proficiency ที่สถาบัน TOEIC นำเสนอ จะเป็นประโยชน์ในการปรับหลักสูตร และประเมินสมรรถนะครูผู้สอน
- แนวทางส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนด้วยการเคลื่อนไหว Total Physical Response (TPR) ที่ได้รับความสนใจมาก การใช้เพลงซึ่งแพร่แล้ว แต่ครูยังมีปัญหาเรื่องการหาเพลงที่เหมาะสม การใช้ละครเป็นสื่อซึ่งแพร่หลายเช่นกัน แต่บทยังไม่เหมาะสมกับวัย การเล่านิทาน  การเล่าเรื่องตลก เทคนิคเหล่านี้เริ่มแพร่หลาย แต่ต้องการความสนับสนุนเพื่อให้ดียิ่งขึ้น
-  เทคนิคหลายอย่างที่นำเสนอในการประชุมปฏิบัติการ ควรได้รับการเผยแพร่อย่างกว้างขวางและลุ่มลึกยิ่งขึ้น เช่น การพัฒนาแนวทางการสอน Academic English ที่ไม่เน้นไวยากรณ์และมีลักษณะ Communicative เทคนิคการอ่าน การฟัง การเรียนรู้คำศัพท์                โดยไม่ต้องท่อง การสนับสนุนผู้ปกครองให้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของลูก เป็นต้น
-  จุดอ่อนของครูที่ควรได้รับการดูแล ได้แก่ การไม่กล้าสื่อสาร เป็นภาษาอังกฤษโดยเฉพาะในที่ประชุมใหญ่ และการใช้ ICT ในการประกอบการเรียนการสอน
๕.  การจัดทำระบบจัดการความรู้เพื่อให้ทราบว่าตัวอย่างที่ดีอยู่ที่ใด และ          การส่งเสริมเครือข่ายในการเรียนรู้ระหว่างสถานศึกษาต่างสังกัด และต่างระดับ ในรูปของชมรม โรงเรียนพี่โรงเรียนน้อง เพื่อเสริมเครือข่ายของศูนย์ ERIC
๖.  การจัดเวที เพื่อให้นักเรียนได้แสดงความสามารถอย่างต่อเนื่อง              โดยไม่จำกัดสังกัด การส่งเสริมกิจกรรมนอกชั้นเรียนที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมประสบการณ์             ของนักเรียน เช่น การจัดแคมป์ การแสดงละคร การจัดตั้งวงขับร้องประสานเสียง หรือชมรมมัคคุเทศก์น้อย ตลอดจนการสนับสนุนให้นักเรียนที่มีความเป็นเลิศได้ทุนเรียนในโรงเรียนสองภาษา หรือไปต่างประเทศ
นอกจากนี้ ในระหว่างที่ท่านนายกรัฐมนตรีรับประทานอาหารกับนักเรียน                   ท่านได้ฝากให้กระทรวงศึกษาธิการสนับสนุนให้นักเรียนพิการได้มีคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียน         การสอนภาษา และให้ดูแลเรื่องการจ้างครูจากอินเดียที่มีคุณภาพด้วย.



*~*~*~*~*~*~*~*~*~*

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น